แต่ก่อนพื้นที่ป่าชายเลนคลองท่าตาโบ๊ยบริเวณนี้เกิดขึ้นจากชาวบ้าน ซึ่งล้วนมีอาชีพประมงเป็นหลัก และการจับปูแสมขายก็เป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านทำกิจวัตร สมัยนั้นปูแสมมีจำนวนมาก ซึ่่งส่วนมากชาวบ้านมักจับปูแสมที่มีไข่นอกกระดอกมาขายเนื่องจากจับง่าย อีกทั้งป่าชายเลนถูกถางเพื่อทำนากุ้ง ซึ่งทำให้ชาวบ้านเกิดความคิดที่จะอนุรักษ์ เพื่อฟื้นฟูให้คงอยู่และสามารถทำมาหากินได้ตลอดจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน จึงเริ่มรวมกลุ่มกันขึ้น ซึ่งการรวมกลุ่มคราวนั้นสามารถรวมตัวกันได้ 24 ครัวเรือน และได้ใช้งบประมาณส่วนตัวคนละ 100 บาท เพื่อทำกระชังปูได้ประมาณ 10 ลูก เพื่อที่จะนำปูที่ไข่นอกกระดองมาปล่อยในกระชัง รอให้ปูเขี่ยไข่ออกหมซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงนำปูตัวแม่ไปขายตามปกติและทำแบบนี้ตลอดอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่ง ต่อมากลุ่มชาวบ้านในพื้นที่นำโดย นายพิจิตร์ บุญกอง ซึ่งเป็นประธานกลุ่มประมงน้ำตื้น (ธนาคารปูแสม) ในสมัยนั้นได้ประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลเนินฆ้อ จำนวน 50,000 บาท เพื่อนำมาก่อสร้างคอกปู โดยจะมีช่องตาข่ายสำหรับให้ลูกปูออกไปนอกคอกได้ และเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ส่วนหนึ่งทางกลุ่มก็รับซื้อปูไข่นอกกระดองจากชาวบ้านโดยการใช้เงินกองกลางของทางกลุ่มจ่าย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนส่วนหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานอื่นเข้ามาพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนงบประมาณ อาทิเช่น สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 1 (ระยอง), สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง, ประมงจังหวัดระยอง, จังหวัดระยอง และองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง โดยประมงจังหวัดดระยองเป็นแกนหลักในการดำเนินโครงการธนาคารปูแส โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง และโครงการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพ ทำให้ชาวบ้านรวมตัวกันสร้างสะพานข้ามคลองทอดยาวไปยังฝั่งป่าโกงกาง มีความยาวประมาณ 80 เมตร ในการก่อสร้างครั้งนั้นเป็นเพียงสะพานที่สร้างจากไม้ยูคาธรรมดา โดยประมงจังหวัดระยองร่วมกับชาวบ้านได้ตั้งชื่อสะพานว่า "สะพานรักษ์ปูแสม" ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนชื่อสะพานให้สั้นลงเป็น "สะพานรักษ์แสม" จนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 คราวนั้น นายสยุมพร ลิ่มไทย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีปล่อยพันธ์สัตว์น้ำและปลูกป่าชายเลน และพิธีเปิดโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลจังหวัดระยอง ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการจัดพิธีแต่งงานปูแสม และปูทะเบ(ปูดำ) จำนวน 2 คู่ ซึ่งเป็นพ่อพันธ์แม่พันธ์ปูอย่างดี โดยทำทุกอย่างในพิธีจัดงานเหมือนพิธีแต่งงานจริงทั่วไปของคนจริงๆทุกประการ เช่น มีการแห่ขันหมากโดยฝั่งเจ้าบ่าว มีการกั้นประตูเงิน ประตูทอง มีการรดน้ำสังข์ มีการเจิม มีเรือนหอมีการอยวยพรคู่บ่าวสาวตามประเพณีอย่างสมบูรณ์ ซึ่งทำให้เป็นที่โด่งดังในช่วงนั้น
และเมื่อปี 2554 ได้เปลี่ยนจากสะพานไม้เป็นสะพานแขวน ซึ่งมีความยาว 80 เมตร โดยเทศบาลตำบลเนินฆ้อได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณจากจังหวัดระยอง เป็นเงินจำนวน 1,200,000 บาท เพื่อมาก่อสร้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองท่าตาโบ๊ย หมู่ 2 บ้านเนินทราย ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
เมื่อปี 2556-2557 เทศบาลตำบลเนินฆ้อได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ในการก่อสร้างวอร์คเวย์ (Walk Way) เดินชมธรรมชาติ ความยาว 90 เมตร และก่อสร้างลานพักชมวิว 1 จุด บริเวณต้นแสมปลายสะพาน
และในปีต่อๆมาเทศบาลตำบลเนินฆ้อได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก เช่น จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการก่อสร้างหอชมวิว 2 แห่ง จุดที่พัก 3 แห่ง สะพานทางเดินให้รอบเกาะ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และลานก่อสร้างลานจอดรถ จุดจำหน่ายสินค้า OTOP จึงทำให้เกิดการต่อยอดโครงการพัฒนาการการท่องเที่ยวในตำบลของเทศบาลตำบลเนินฆ้อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดระยองสืบไป
![]() |
เทศบาลตำบลเนินฆ้อ หมู่ 3 ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 21110 โทรศัพท์/โทรสาร: 0 3803-7612 โทรสารอัตโนมัติ: 0 3803-7610 |